อย่ายอมให้ชีวิต...... ถูกลิขิตโดยฟ้าดิน

เมื่อก่อนผมเคยทำไร่เลื่อนลอย เหมือนชาวอาข่าคนอื่นๆ แต่ข้าวในไร่
และข้าวโพดในไร่มีเหลือให้เก็บเกี่ยวน้อยลงทุกปี ครั้งหนึ่งในไร่ผมมแต่หญ้าให้เกี่ยว ผมก็ต้องหาของป่าไปขาย ปลีกล้วยเอย หน่อไม้เอยหวายเอย เดินลงจากดอยไปยี่สิบสามกิโลเพื่อไปขายของป่าในตัวเมืองเชียงราย นั่งขายไม่ทันไรก็ค่ำ ขายได้บ้างไม่ได้บ้างก็ต้องรีบเดินทางกลับ
ภาวะหาเช้าไม่ทันกินค่ำทำให้ผมเริ่มมองหาอาชีพอื่นที่จะเ
ลี้ยงดูครอบครัวได้
โชคดีที่อาแปไม่ต้องมองไปที่ไหนไกลตัวนัก เขามองเห็นหนทางของชีวิตบนดอยฮาง
อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของเขาและชาวอาข่าอีก4-5ครอบครัวนั่นเอง
หนึ่งผมเห็นไกด์พาชาวต่างชาติมาเยี่ยมชมหมู่บ้าน ผมก็ไปเลียบๆเคียงๆ
ขอให้เขาช่วยสอนภาษาอังกฤษให้ผมสักสองคำ
        สองคำที่ผมถามเขาคือ นี่อะไร กับนั่นอะไร เขาสอนว่า
What’s this? กับ What’s that? ผมจำสองคำนี้ไว้ขึ้นใจแล้วนำ
ไปถามชาวต่างชาติคนอื่นต่อไปเรื่อยๆ เช่น หยิบขวดน้ำมาถามว่า What’s
this? เขาก็ตอบว่า A bottle of water บางทีชี้ไปที่น้ำตกแล้วถามว่า
What’s that? เขาก็ตอบว่า Water fall จากสองประโยคสั้นๆนี


ทำให้ผมรู้ภาษาอังกฤษจนพอจะสื่อสารกับชาวต่างชาติได้
แม้จะไม่ค่อยมั่นใจในหนทางใหม่ของชีวิตนัก แต่อาแปก็พาหัวใจ
ที่หนักแน่นราวภูเขาลงจากดอยไปทำงานตามเกสเฮ้าส์
ในตัวเมืองเชียงราย เมื่อว่างจากงานเก็บกวาดห้องพักหรือล้างห้อง
น้ำเขาอาสาเป็นลูกหาบติดสอยห้อยตามมัคคุเทศก์ที่พาชาวต่างชาติ
ไปเดินป่าระหว่างนั้นอาแปก็ได้ฝึกฝนการใช้ภาษาอังกฤษเพิ่มเติม
และได้สั่งสมประสบการณ์การเป็นมัคคุเทศก์มากขึ้นเรื่อยๆ
“ตอนแรกผมยังกล้าๆกลัวๆ ไม่แน่ใจว่าเราลงจากดอยแล้วเราจะ
ไปรอดไหม เราจะเป็นไกด์ได้หรือเปล่า แต่คิดแล้วว่าเราไม่มีอะ
ไรจะเสียทำไร่ทำสวนอยู่บนดอยต่อไปก็ไม่พอกินอยู่ดี ลอง
ไปเรียนรู้ดูซักตั้ง ถ้าไม่ไหวค่อยกลับมาทำไร่เหมือนเดิมก็ได้ ”

“ผมแบกความหวังของครอบครัวและชาวบ้านคนอื่นๆลง
จากดอยมาด้วย ทุกคนรอลุ้นว่าอาแปจะไปรอดไหม ถ้าผมกลับดอยตัวเปล่าก็ถือ
ว่าเสียหน้า เพราะทำให้ทุกคนผิดหวัง”
เวลาผ่านไปหนึ่งเดือน อาแปไม่เสียหน้าอย่างที่หวาดหวั่น
เขาขยับจากตำแหน่งลูกหาบมาเป็นมัคคุเทศก์เต็มตัว สามารถ
หารายได้เลี้ยงครอบครัวได้ไม่ลำบากเหมือนที่เคย
        “ตัวผมและครอบครัวผมนี่รอดแล้ว แต่คำถามคือ
ผมจะเอาตัวรอดคนเดียวไม่ได้ ทำอย่างไรคนอาข่าบนดอยจะมีรายได้เหมือนผม”.
        “บังเอิญมีชาวต่างชาติที่ผมพามาเยี่ยมชมหมู่บ้านถามว่า
“อาแป ฉันจะกลับมาอยู่บ้านคุณอีกได้ไหม” ผมตอบว่า
“ไม่ได้หรอกครับหมู่บ้านผมไม่มีห้องพัก” ผมปฏิเสธเขาก็จริง   
แต่คำถามของชาวต่างชาติคนนั้นจุดประกายความคิดเรื่อง
การทำโฮมสเตย์แก่ผมเป็นครั้งแรกเลยก็ว่าได้”
        อาแปใช้เงินเก็บสองหมื่นหกพันบาท
สร้างห้องพักขึ้นมาสามห้อง เริ่มเปิดบริการแก่
นักท่องเที่ยวที่มาเดินป่า ชมไร่ชา ศึกษาวิถีชีวิตชนเผ่าอาข่า
โดยเก็บค่าที่พักห้องละสี่สิบบาทต่อคืน
        “รายได้ค่าที่พักคืนละสี่สิบบาทนั้น ผมหักสิบเปอร์เซ็นต์
ไปช่วยเหลือหมู่บ้าน ส่วนชาวบ้านก็มีรายได้จากการขายผล
งานหัตถกรรม นวดแผนโบราณ หรือเป็นผู้ช่วยไกด์ เมื่อก่อน
เราเคยอยู่กินกับป่า  เราก็พาชาวต่างชาติฝึกดำรงชีวิตในป่า
มีมีดติดตัวคนละเล่ม ฝึกหุงข้าวในกระบอกไม้ไผ่ ฝึกสร้าง
ที่พักด้วยใบตองแบบผีตองเหลือง ชาวต่างชาติประทับใจ

การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติมาก”
วิถีชนเผ่า วิถีธรรมชาติ และการบริการที่เป็นกันเอง ทำ
ให้อาข่าฮิลล์เฮ้าส์เป็นที่รู้จักแบบปากต่อปาก และมีข้อมูลอยู่ในคัมภีร์นักแบกเป้      
อย่างหนังสือ Lonely Planet จนโด่งดังไปทั่วโลก

ผมประชาสัมพันธ์ด้วยการแจกแผ่นพับไปเรื่อยๆ จนวันหนึ่งมีแขกชาวต่างชาติบอกว่า” อาแป ลอง
ทำเว็บไซต์ไหม แผ่นพับมันไปได้ไม่ไกลนะ

ตอนนั้นผม งง มากได้แต่ถามกลับไปว่าเว็บไซต์คืออะไรครับอาแปไม่รู้จัก
เขาตอบว่า เว็บไซต์คือการที่อาแปเข้าไปในคอมพิวเตอร์ ซื้อพื้นที่ ซื้อชื่อ
และใส่รายละเอียดเกี่ยวกับอาข่าฮิลล์ลงไป เว็บจะหาลูกค้าให้ อาแป
ตลอด 24 ชั่วโมง โดยที่ อาแป ไม่ต้องไปตระเวรแจกแผ่นพับเลย
ผมเห็นว่าเข้าท่าก็เลยเรียนเขียนเว็บไซต์  www.akhahill.com    
จึงเกิดขึ้นจากฝีมือผมตั้งแต่นั้น
ผลพวงจากเว็บไซต์ออนไลน์ทำให้บริษัท
จากประเทศอังกฤษติดต่อ
พานักเรียนแลกเปลี่ยนวัมนธรรมเข้า
มาทำกิจกรรมที่อาข่าฮิลล์ปีละสี่ร้อย
กว่าคน ลร้างรายได้ไห้ประเทศไทยปีละ
ร้อยกว่าล้าน ถ้าไม่มีอาข่าฮิลล์
เขาอาจไปทำกิจกรรมที่ลาวหรือเวียดนาม ประเทศไทยเราอาจเสียโอกาสไปก็ได้


ผลงานด้านการท่องเที่ยวของอาแป
เป็นที่ประจักษ์ เขาได้รับคัดเลือก
เป็นมัคคุเทศก์ดีเด่นแห่งประเทศไทย
(รางวัลกินรี) ประจำปี พ.ศ. 2549
วันนั้นเขาขึ้นรับรางวัลในชุดประจำเผ่า
ที่สะดุดตาและสง่างาม

หัวใจของธุรกิจท่องเที่ยวคือการบริการ

และที่ขาดไม่ได้คือเอกลักษณความเป็นชนเผ่าของเรา เสน่ห์ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวไห้ข้ามน้ำข้ามทะเลขึ้นมาถึงดอยฮางก็คือวิถี
ของชาวอาข่าที่กินนอนเรียบง่ายเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ”

อาข่าฮิลล์เฮ้าส์กลายเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวทั่วโลก
พร้อมๆกับที่อาแปก้าวไปถึงจุดหมายของชีวิต แต่มัคคุเทศก์ชาวอาข่า
ผู้ที่สื่อสารได้ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น และภาษาชนเผ่า
ผู้นี้ไม่เคยลืมว่า ระหว่างการเดินทางขึ้นสู่ยอดเขาแห่งชีวิตนั้น เขาพลาด
สิ่งสำคัญอะไรไป

สาขาของอาข่าฮิลล์ ในตัวเมือง
เชียงรายเป็นโรงแรมบ้านดิน

     “ตัวผมเองไม่เคยใส่ชุดนักเรียน เลยซักครั้งในชีวิต ผมจึงอยากให้เด็กๆ
ได้เรียนดีๆ โตขึ้นมาลูกหลานชาวอาข่าจะได้ไม่ต้องลำบากเหมือนผม”

        ผมตั้งโครงการการศึกษาอาข่าฮิลล์ แล้วดั้นด้นไปหาทุนการศึกษา
ถึงมหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดยได้รับความช่วยเหลือจาก
นักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นที่เคยมาพักที่นี่ ส่วนรายได้สิบเปอร์เซ็นต์ที่เคย
ช่วยเหลือหมู่บ้าน ผมก็นำมาสนับสนุนการศึกษาโรงเรียนบ้านโป่งน้ำ
ร้อนแทน

        “นอกจากนี้ อาข่าฮิลล์ยังมีที่พักฟรีและอาหารฟรีสำหร
ับครูอาสาสมัครสอนภาษาอังกฤษ ผมรู้ดีว่าภาษาอังกฤษสำคัญต่อชีวิตมากจึงอยากส่งเสริมให้เด็กและชาว
บ้านที่นี่มีอนาคตที่ดี เพื่อในอนาคตจะได้กลับมาช่วยพัฒนาหมู่บ้านของเรา”

        “หากมองไปข้างหน้าอีกสิบปีหรือยี่สิบปี ผมกลัวว่าถ้าเราไม่ให้การศึกษา
จะไม่มีชาวอาข่าเหลืออยู่เลย เพราะเด็กที่ไม่มีการศึกษาจะต้อง
ไปรับจ้างทำงานในกรุงเทพฯ  บ้างมีครอบครัวแล้วก็ไม่กลับมาบนดอย
ไม่กลับมาเป็นชาวอาข่า”


“แต่ถ้าพวกเขามีการศึกษา พวกเขาอาจเป็นครูอยู่ในตัวเมืองเชียงราย
เป็นไกด์อยู่ในหมู่บ้าน อย่างน้อยก็ยังผูกพันกับปู่ย่าตายาย ยังคง
ใช้ชีวิตตามวิถีชนเผ่าอย่างภาคภูมิใจ เหมือนผมในตอนนี้”

        จากเด็กชายผู้ไม่เคยฝันจะได้ปั่นจักรยาน วันนี้เขามีรถกระบะ
ขับขึ้นดอย-ลงดอย

        จากเด็กชายผู้ไม่เคยสวมใส่ชุดนักเรียน วันนี้เขาสวมชุดชนเผ่า
ยืนบรรยายให้ความรู้แก่นักศึกษาวิชาธุรกิจการท่องเที่ยว

        จากที่เคยหาบของป่าไปขาย วันนี้เขาอดไม่ได้ที่จะช่วย
ซื้อหน่อไม้จากแม่ค้าชนเผ่า โดยไม่คิดจะต่อรองราคา

        จากที่เคยเริ่มต้นชีวิตด้วยคำถาม What’s this? What’s that?
บัดนี้ มัคคุเทศก์ชาวอาข่าไม่จำเป็นต้องเอื้อนเอ่ยคำถามเหล่านี้อีก
ต่อไป เพราะอาแป อามอ พบกับคำตอบที่ค้นหามานานแล้วว่า

 คำตอบของชีวิต…อยู่ที่การไม่ยอมจำนนต่อลิขิตของฟ้าดิน